การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์
บล็อกนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาการพัฒนาการสอนวิทยาศาสตร์
วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560
สมาชิกในกลุ่ม
นางสาวปิยะวดี คุ้มนาเรียง 5641060103
นางสาวสกาวรัตน์ สีงาม 5641060125
นายพัชรภูมิ จันทร์ภู่ 5641060147
นางสาวรสริน เพชรดี 5641060171
นางสาวกชพรรณ คำผุย 5641060173
นางสาวเกษสุดา เพลาวัน 5641060180
ประวัติส่วนตัว

นายพัชรภูมิ จันทร์ภู่
รหัสนักศึกษา 5641060147
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป รุ่น 56/12
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
มาตรฐานบัณฑิตตามมาตรฐานคุรุสภา
มาตรฐานครุสภา
|
การเรียนวิชาพัฒนารูปแบบการสอนวิทย์
|
1.ความเป็นครู
|
คุณลักษณะของครูที่ดี
เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบ
เพื่อเสริมสร้างความเป็นครูจากการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ในการจัดการเรียนการสอน
ผู้สอนต้องคำนึงถึงวิธีการเรียนรู้
ความสนใจและความสามารถของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
|
2.ปรัชญาการศึกษา
|
-พฤติกรรมนิยม
การสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน
เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้
-ปัญญานิยม
การจัดการเรียนรู้
เหมาะสมกับสติปัญญาของผู้เรียน
-มนุษย์นิยม
การคิดแบบอิสระ
กล้าแสดงที่จะแสดงความคิดเห็น
-สรรค์สร้างนิยม
การเรียนรู้เป็นทีม
การนำข้อผิดพลาดของตัวเองมาเป็นบทเรียน ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ความรู้
|
3.ภาษาและวัฒนธรรม
|
ใช้ภาษาที่เรียบง่าย ไม่เป็นทางการ
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจในบทเรียนไม่ซับซ้อน
วัฒนธรรมจะเปิดรับอย่างอิสระโดยผ่านการไตร่ตรองให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอน
|
4.จิตวิทยาสำหรับครู
|
เป็นผู้ชี้แนะแนวทางให้กับผู้เรียนและพัฒนาตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
|
5.หลักสูตร
|
พัฒนาหลักสูตรให้มีความหลากหลาย
และประเมินหลักก่อนและหลังการใช้หลังสูตร
|
6.การวัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
|
มีภาวะผู้นำในการบริหารจัดการชั้นเรียนร่วมถึงการสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ
|
7.การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
|
การวิจัยสามารถทราบถึงปัญหา
และนำไปแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของผู้เรียน
|
8.นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
|
สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน และสามารถเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ
|
9.การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
|
การวัดและการประเมินผลเป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคลตามความเป็นจริงเมื่อเกิดข้อผิดพลาด
สามารถปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาต่อไปได้
|
10.การประกันคุณภาพการศึกษา
|
เป็นการประกันคุณภาพที่ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนได้ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์
|
11คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ
|
รู้จักแยกแยะความถูกผิด มีเหตุผล
รู้จักแบ่งปันความรู้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนร่วม
|
SU Model
SU MODEL คือ รูปแบบจำลองโลกแห่งการศึกษา โดยประกอบด้วยวงกลม ซึ่งเปรียบเสมือนโลกที่มีองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ คือ 1) พื้นฐานทางปรัชญา 2) พื้นฐานทางจิตวิทยา และ 3) พื้นฐานทางสังคม โดยมีสามเหลี่ยมแห่งการศึกษาที่มีองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่
· ด้านความรู้ กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง
· ด้านผู้เรียน กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
· ด้านสังคม จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา
ในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต้องตอบสนองด้านผู้เรียน ด้านสังคมและด้านความรู้ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานทางการพัฒนาที่สำคัญ คือ พื้นฐานทางสังคม พื้นฐานทางจิตวิทยาและพื้นฐานทางปรัชญาและภายในสามเหลี่ยมการศึกษาจะประกอบด้วยสามเหลี่ยมเล็กๆ4 ภาพ ซึ่งเป็นการจำลองขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตรของTyler โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1คือ การวางแผน (Planning) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยความรู้ (Knowledge) และจะสอดคล้องกับคำถามที่หนึ่งของไทเลอร์ คือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องวางแผนให้มีเนื้อหาครบคลุมในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และต้องเรียน
ขั้นตอนที่ 2 คือ การออกแบบ (Design) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา เพราะว่าหลักสูตรต้องออกแบบมา เพื่อให้จัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความรู้แก่นักเรียน
ขั้นตอนที่ 3 คือ การจัดการหลักสูตร (Organize) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner), ความรู้ (Knowledge) และสังคม (Society) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ เพราะว่าการจัดการหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพ คือ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิ เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้และบรรลุวัตถุประสงค์พร้อมกับสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ในสังคม
ขั้นตอนที่ 4 คือ การประเมิน (Evaluate) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยสังคม (Society) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียน ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม
LRU Model
LRU Model
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญาเพื่อส่งเสริมความสร้างสรรค์
รูปแบบการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา มีชื่อว่า LRU Model มี 3 ขั้นตอน คือ
1) การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ (L)
2) การวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (R)
3) การใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อประเมินพัฒนาการเรียนรู้ (U)
DRU Model
ความหมาย DRU Mode
l
การจัดการเรียนรู้ DRU Model เพื่อส่งเสริม Meta cognition 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ (D:Diagnosis of Needs) แนวคิดของ Taba (1962 :10) เชื่อว่า ครูผู้สอน มีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างสรรค์หน่วยการสอนและการเรียนรู้ให้ผู้เรียน และได้นำเสนอขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง 7 ขั้น ดังนี้
1.1 การวินิจฉัยความต้องการ (diagnosis of needs)
1.2 การกำหนดวัตถุประสงค์ (formulation of objectives)
1.3 การเลือกเนื้อหา (selection of content)
1.4 การจัดองค์ประกอบของเนื้อหา (organization of content)
1.5 การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ (selection of learning experiences)
1.6 การจัดองค์ประกอบของประสบการณ์การเรียนรู้ (organization of learning experiences)
1.7 การวินิจฉัยว่าสิ่งที่จะประเมิน(การเรียนรู้)คืออะไร จะใช้วิธีการและเครื่องมือวัดใดในประเมิน(การเรียนรู้)
2. ขั้นการวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (R-Research into identifying effective learning environments )
สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (learning environment) คือการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายในวิชาที่เรียน คือ ผลการเรียนรู้ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ หน่วยงานการศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st centuryskills.org) ได้เสนอแนวคิดว่า สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้คือระบบสนับสนุนที่จัดสรรเพื่อให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด เป็นระบบที่รองรับความต้องการเพื่อการเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียนทุกคน และสนับสนุนความสัมพันธ์กับมนุษย์ในทางที่เป็นประโยชน์ เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการรวมเอาโครงสร้าง เครื่องมือ และชุมชนที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน และนักการศึกษาเพื่อจะบรรลุความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21
3. การตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด UDL เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้(U-Universal Design for Learning and Assessment)
Universal Design (UD) เป็นการอำนวยความสะดวกสำหรับคนทุกคนโดยไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นใครคนใดคนหนึ่ง ดังนั้น การนำหลักการ universal design มาใช้ในการศึกษาจึงเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่มีความต้องการหลากหลาย การนำ UDL มาใช้ก็เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ให้เหมะสมกับความต้องการของผู้เรียนแต่ละคนและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองได้เต็มตามศักยภาพ การพัฒนาแผนการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนได้นำแนวคิดการออกแบบสากลเพื่อการเรียนรู้(UDL) มาใช้เพื่อช่วยครูผู้สอนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆเพื่อปรับปรุงผลการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนทุกคน การวางแผนการประเมินดังกล่าวนี้เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เรียนทุกคนจะได้รับการประเมินความรู้และทักษะที่สนับสนุนให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในจุดหมายของการเรียนรู้
l
การจัดการเรียนรู้ DRU Model เพื่อส่งเสริม Meta cognition 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ (D:Diagnosis of Needs) แนวคิดของ Taba (1962 :10) เชื่อว่า ครูผู้สอน มีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างสรรค์หน่วยการสอนและการเรียนรู้ให้ผู้เรียน และได้นำเสนอขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง 7 ขั้น ดังนี้
1.1 การวินิจฉัยความต้องการ (diagnosis of needs)
1.2 การกำหนดวัตถุประสงค์ (formulation of objectives)
1.3 การเลือกเนื้อหา (selection of content)
1.4 การจัดองค์ประกอบของเนื้อหา (organization of content)
1.5 การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ (selection of learning experiences)
1.6 การจัดองค์ประกอบของประสบการณ์การเรียนรู้ (organization of learning experiences)
1.7 การวินิจฉัยว่าสิ่งที่จะประเมิน(การเรียนรู้)คืออะไร จะใช้วิธีการและเครื่องมือวัดใดในประเมิน(การเรียนรู้)
2. ขั้นการวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (R-Research into identifying effective learning environments )
สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (learning environment) คือการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายในวิชาที่เรียน คือ ผลการเรียนรู้ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ หน่วยงานการศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st centuryskills.org) ได้เสนอแนวคิดว่า สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้คือระบบสนับสนุนที่จัดสรรเพื่อให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด เป็นระบบที่รองรับความต้องการเพื่อการเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียนทุกคน และสนับสนุนความสัมพันธ์กับมนุษย์ในทางที่เป็นประโยชน์ เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการรวมเอาโครงสร้าง เครื่องมือ และชุมชนที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน และนักการศึกษาเพื่อจะบรรลุความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21
3. การตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด UDL เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้(U-Universal Design for Learning and Assessment)
Universal Design (UD) เป็นการอำนวยความสะดวกสำหรับคนทุกคนโดยไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นใครคนใดคนหนึ่ง ดังนั้น การนำหลักการ universal design มาใช้ในการศึกษาจึงเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่มีความต้องการหลากหลาย การนำ UDL มาใช้ก็เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ให้เหมะสมกับความต้องการของผู้เรียนแต่ละคนและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองได้เต็มตามศักยภาพ การพัฒนาแผนการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนได้นำแนวคิดการออกแบบสากลเพื่อการเรียนรู้(UDL) มาใช้เพื่อช่วยครูผู้สอนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆเพื่อปรับปรุงผลการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนทุกคน การวางแผนการประเมินดังกล่าวนี้เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เรียนทุกคนจะได้รับการประเมินความรู้และทักษะที่สนับสนุนให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในจุดหมายของการเรียนรู้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)